วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เรื่องเล่าจากคลินิกอดบุหรี่ รพ.ลำดวน จังหวัดสุรินทร์



                โรงพยาบาลลำดวน มีคลินิกให้บริการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด เปิดให้บริการบำบัดรักษา ผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติด บำบัดสุรา และให้คำปรึกษาผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ โดยคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลลำดวน ได้ดำเนินการมาได้ประมาณ 10 ปี ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านผู้อำนวยการ และหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ให้มาดูแลงานด้านนี้ สำหรับตัวดิฉันเองเป็นพยาบาลธรรมดา ไม่มีความสามารถโดดเด่นอะไร ด้านการพูด ตัวเองก็คุยไม่เก่ง ค่อนข้างจะขี้อาย แต่ด้านความรับผิดชอบงาน และความดี ดิฉันคิดว่า ตนเองก็ไม่แพ้ใคร เมื่อเจ้านายมอบหมายงานก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจ ส่วนความรู้ด้านการบำบัดก็ไม่มี แต่หัวหน้าสั่ง ลูกน้องก็ทำตามด้วยความเต็มใจและไม่มีความอึดอัดใจแต่อย่างไร แต่ข้อดีของดิฉันอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นคนชอบศึกษาเรียนรู้ (ขออนุญาตชื่นชมตัวเอง) จึงได้นำความรู้ต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม จากการอ่าน  การศึกษา  จากอินเตอร์เน็ต จากเพื่อนๆ เครือข่ายผู้บำบัดสารเสพติด มาช่วยเหลือผู้ป่วยตามอัตภาพ สำหรับงานบริการให้คำปรึกษาผู้ติดบุหรี่ ก็ดำเนินการควบคู่กับงานบำบัดยาเสพติด แต่การให้บริการ ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งรับที่คลินิก โดยแผนกผู้ป่วยนอก และ PCU จะส่งผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เข้ามาที่คลินิก ซึ่งผู้ต้องการเลิกบุหรี่ แต่ละปี ไม่ถึง 10 คน  ต่อมาได้ทราบข่าวการประชาสัมพันธ์ การรับสมัครเครือข่ายคลินิกอดบุหรี่ของ สปสช. เขต 9 นครราชสีมา จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ จึงสมัคเข้าร่วมโครงการฯ  ดิฉันได้ศึกษาข้อมูลการให้บริการ และประชุมทีมผู้บำบัด ปรึกษาหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง  นำระบบ 5A , 5 R มาใช้ในแผนกผู้ป่วยนอกและ PCU โดยมีการซักถามประวัติการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยที่มารับบริการทุกคนและทุกครั้งที่มารับบริการ ส่งผลให้ผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เห็นความสำคัญของปัญหา และผลกระทบของการสูบบุหรี่ มีผู้ที่มีปัญหาการสูบบุหรี่เข้ารับบริการมากขึ้น จากการเก็บข้อมูลผู้สูบบุหรี่สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ ได้มากกว่าร้อยละ50 สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ถึงร้อยละ 10-20 ซึ่งโรงพยาบาลลำดวนได้สมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกอดบุหรี่ปีนี้เป็นปีที่ 2

                และผู้เลิกบุหรี่ที่อยากเล่าสู่กันฟัง ก็เป็นเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลนี่ละค่ะ รายนี้ เป็นอะไรที่พอ บอกใครๆ ว่าเลิกบุหรี่ได้ เกือบปี แล้ว ไม่มีใครอยากเชื่อ แม้แต่ตัวดิฉันเอง เพราะเขาสูบบุหรี่จัดและดื่มเหล้าเก่ง หน้าตาก็ขี้เมา พี่ๆ เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมที่ดูแลงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพก็เป็นห่วง ดิฉันเคยแจกแบบประเมินนิโคตินให้เมื่อปีก่อน  เค้าก็กรอกแบบประเมิน และผลการประเมินนิโคติน 7 คะแนน แต่ตอนนั้น เค้าบอกว่าไม่รู้สึกอะไร  จนกระทั่ง เขาได้พูดคุยกับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในหมู่บ้าน จึงเห็นถึงความทุกข์ ทรมานจากการเจ็บป่วย และรู้สึกหวาดกลัว ประกอบกับตัวเอง สังเกตตนเองว่า ไอ และมีเสมหะในลำคอตลอด  และตนเองได้ค้นหาเรื่องถุงลมโป่งพองทางอินเตอร์เน็ต จึงรู้สึกกลัว และเป็นห่วงว่า ถ้าตนเองเจ็บป่วย ใครจะดูแลลูก ซึ่งตนก็แยกทางกับภรรยาได้หลายปีแล้ว  ดิฉันได้พูดคุยถึงเรื่องการเลิกบุหรี่ของเค้า ก็รู้สึกประทับใจ คือ จากภาพที่หลายคนมองว่าเค้าดูจะขี้เมา เสื้อผ้าไม่ดูเรียบร้อย แต่ที่สัมผัสได้ คือ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว รักลูก ต้องการทำงานให้ดี ต้องการเลี้ยงลูกให้ดี มีชีวิตอย่างพอเพียง จริงๆแล้วพี่เค้าเคยเลิกบุหรี่ด้วยตนเองมาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนนั้นเลิกเพราะต้องทำงานในออฟฟิต เค้าห้ามสูบบุหรี่ โดยเลิกได้เดือนเดียว ก็กลับมาสูบบุหรี่อีกเนื่องจาก ถูกให้มาทำงานนอกออฟฟิต พี่เค้าเล่าว่า เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 18 ปี สาเหตุ คือ สูบตามเพื่อน และค่านิยมคือ ดูเท่ สามารถอยู่ในกลุ่มเพื่อนได้ ซึ่งเพื่อนๆ สูบบุหรี่แทบทุกคน สูบไปสูบมา รู้ตัวอีกทีก็ติดบุหรี่ โดยสูบวันละซอง ยิ่งถ้าวันไหนดื่มเหล้า ก็จะยิ่งสูบบุหรี่ มากขึ้น ต่อมารู้สึกสุขภาพตัวเองแย่ เวียนศีรษะบ่อย มีเสมหะเหนียว เพื่อนร่วมงานก็ล้อเลียน  บางครั้งรู้สึกผิดจากการแอบสูบบุหรี่ในที่ทำงาน  หลังจากพูดคุยกับผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ได้เห็นความทุกข์ทรมานของเขา ทำให้ตนเองตระหนักถึงปัญหาของการสูบบุหรี่ นึกเป็นห่วงลูก และถ้าตนเองเป็นโรคนี้ ไม่ไหวแน่ จึงตัดสินใจเลิกบุหรี่แน่นอน โดยวิธีหักดิบ เพราะคิดว่า ถ้าค่อยๆเลิก คงจะเลิกไม่ได้แน่  พร้อมทั้งทิ้งอุปกรณ์ทุกอย่าง แต่ก็นึกอยากบ้าง แก้ปัญหาโดยดื่มน้ำมากๆ ทำอะไรให้ลืม มีน้ำลายเหนียวๆ แต่ก็ดื่มน้ำมากๆ และพยายามสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตนเอง มีความสุขกับการสังเกตการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่ง 1 เดือน ไม่มีเสมหะ ร่างกายแข็งแรงขึ้น ไม่เวียนศีรษะ ตอนนี้ไม่มีอาการอยากบุหรี่ ดิฉัน สังเกตเห็นพี่เค้ามีใบหน้าสดใดขึ้น  สีหน้ามีความสุข  แววตามีความมุ่งมั่น ที่จะดูแลสุขภาพตนเอง ดูแลลูก และครอบครัว ทำงานให้ดี  และบอกว่า ตอนนี้ไม่ค่อยดื่มเหล้า และจะพยายามเลิกเหล้าให้ได้   พร้อมทั้ง ได้ฝากข้อคิดกับทีมผู้ให้คำปรึกษา การแนะนำผู้ป่วย น่าจะพูดถึงเรื่องปัญหาทางเดินหายใจ โรคถุงลมโป่งพอง ให้มากเพราะในหมู่บ้าน เขตอำเภอลำดวน คนเป็นโรคถุงลมโป่งพอง และหายใจหอบมาก มากกว่า เรื่อง มะเร็งปอด เพราะแถวบ้านเรา case มะเร็งปอด ไม่ค่อยมี คือ มีน้อย แต่ถ้าถุงลมโป่งพอง นี่ จะหาได้ง่าย ซึ่ง จะทำให้ผู้สูบบุหรี่เกิดความตระหนัก จากการเห็นความทุกข์ทรมาน ที่ปรากฏให้เห็นได้ จากคนบ้านเรา ข้างรั้วโรงพยาบาล

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเด็นคำถามจาก สรอ.@ สปสช.เขต 9 นครราชสีมา

การตรวจประเมินเพื่อขอการรับรอง ISO9001:2008 (ขั้นที่ 2) วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา
ภาพรวมของกิจกรรมระบบบริหารคุณภาพของสาขา
-ตามกรอบวิสัยทัศน์ทุกคนที่อยู่บนพื้นแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจรวมถึงคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ ถ้ารวมมีการดูแลคนกลุ่มนี้อย่างไร
-เป้าประสงค์ และกรอบยุทธศาสตร์ มีการปรับเปลี่ยนหรือไม่
-พันธกิจ ในเรื่องบริหารเงินกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ มีการวัดผลอย่างไร
งาน
ข้อซักถาม
การขึ้นทะเบียน
-หน่วยบริการ ในการตรวจประเมินหน่วยบริการ ด้านการอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ใครเป็นผู้เข้ารับการอบรม อบรมเสร็จแล้วมีการดำเนินการอย่างไรต่อ

-ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ หมายถึง คือขาดแพทย์ หรือขาดแพทย์เวชศาสตร์

-การปรับปรุงเกณฑ์ขึ้นทะเบียน ในระดับเขต ตาม service plan ดำเนินการอย่างไร
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
-ระบบ claim ข้อมูลส่งตรงมาที่ เขต ก่อน หรือ ส่งเข้าส่วนกลาง
-ภาพรวมการเบิกจ่าย ของกองทุน central reimburse ทำไมยังไม่ได้โอนเงินอยู่มาก
-การวัดข้อมูล op/pp individual data ที่คาดเคลื่อน จะวัดอย่างไร

-ระบบ E claim มีการประมวลผลอย่างไร และมีข้อกำหนดในการจ่ายอย่างไร

-ถ้าไม่ส่งข้อมูลผ่านระบบ e - claim จะมีช่องทางการอื่นส่งได้หรือไม่
งบค่าเสื่อม
-กำหนด KPI รายบุคคลวัดอย่างไร และ ร้อยละที่กำหนด เป็นวงเงินในระดับใด
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการแพทย์
- กายอุปกรณ์เครื่องช่วยในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ ทำไมผลงานค่อนข้างต่ำ เป็นเพราะอะไร
- จำนวนคนขื้นทะเบียนผู้พิการ จ.บุรีรัมย์มีมากที่สุด แต่ตัวเลขผลงานจำนวนครั้งให้บริการทำไมลดลง
กองทุนส่งเสริมป้องกันโรค
- เป็นการส่งเสริม ป้องกันโรค แก่คนไทยทุกสิทธ์ จะครอบคลุมคนต่างด้าวหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
- ตัวชี้วัดเกณฑ์การประเมิน กำหนดอย่างไร
- อัตราแรกเกิด Low birth weight  (LBW) เป็นการส่งเสริมให้แม่มีการฝากครรภ์เร็วขึ้นใช้หรือไม่  มีการดำเนินการอย่างไร และกำหนดเกณฑ์อย่างไร
- นอกจากการดู แม่ฝากครรภ์เร็ว และมารพ.ครบตามกำหนด ยังมีการปฏิบัติตัวอย่างอื่นหรือไม่

- กลุ่มวัยรุ่นกำหนดช่วงอายุอย่างไร

- ปัจจุบันพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 100% หรือยัง

- ตัวชี้วัด เงินคงเหลือในกองทุนเมื่อสิ้นปีงบประมาณ  กำหนดอย่างไร

- ปัจจุบันยังมีการประกวดนวตกรรมกองทุนอยู่หรือไม่
กองทุนพัฒนาระบบริการปฐมภูมิ
- Pre – Audit PCU Profile จ.สุรินทร์ ที่ไม่ผ่านติดประเด็นเรื่องอะไร และมีวิธีการดำเนินการต่ออย่างไร
- ปัญหาการกระจายตัวของแพทย์ และบุคลากร ในจังหวัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มีการดำเนินการอย่างไร
งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ
- จำนวนแม่ข่ายและลูกข่ายที่เพิ่มขี้นจากปี 55 เพราะอะไร
- ขอดูข้อมูลการให้ยาละลายลิ่มเลือด STEMI  ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ทำไมได้น้อย

- จังหวัดใดบ้างที่ให้ยาได้

- ความสัมพันธ์ของจำนวนแม่ข่ายและลูกข่าย กับผลข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน เช่น ชัยภูมิเครือข่ายน้อย แต่มีข้อมูลการให้ยามาก

- CT scan ผลต่างมาก กับจำนวน case เป็นเพราะอะไร

- ขอดูสถิติของ stroke 

- คลินิกอดบุหรี่ มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไร
งานทันตกรรม
- ใส่ฟันเทียม item เท่ากันหรือไม่

- ความสามารถในการดำเนินการ ทำได้กี่หน่วยบริการ

- วัดค่าตัวชี้วัดในกลุ่มเด็กประถมหรือไม่ บรรลุเป้าหรือไม่
ระบบยา เวชภัณฑ์และวัคซีน
- โครงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เราจ่ายเป็นรูปของตัวยากับหน่วยบริการใช่หรือไม่
- ขบวนการ audit นอกจากยา IVIG ในโรค Kawasaki ยาในกลุ่มอื่นๆยังไม่ได้ audit ใช่หรือไม่

- หน่วยบริการใดบ้างที่เด่นๆ เรื่องยาสมุนไพร
Asthma / COPD
- การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ถ้าเป็นโรคในเบื้องต้นแล้ว จะได้รับยาทันทีเลยหรือไม่

- ผลปี 55 (ยังไม่เต็มปี) ก็ปริมาณเข้าถึงยามากกว่าปี 54 แล้ว เพราะอะไร
HIV/AIDS
- อธิบายผลการดำเนินงานร้อยละผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 100 cell/ml เมื่อแรกรับของผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัส

- มีเกณฑ์การให้ยาอย่างไร
โรคไตวาย
- บริการทดแทนไต ดำเนินการวิธีใด

- ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำ CAPD ได้ ต้องร่วมจ่ายในการทำ HD หรือไม่

- CAPD ทำวันละกี่ครั้ง วิธีการทำอย่างไร ประมาณ 2-5 ครั้ง/วัน

- รอบในการทำHD  และ วิธีการทำอย่างไร

- อธิบายการดำเนินงาน การล้างไตผ่านทางช่อง ในช่วงวิกฤตอุทกภัย

- น้ำยา COPD ต้องน้ำเข้า 100% เพราะไทยมีโรงงานผลิตแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ แล้วมีปัญหาในการส่งน้ำยาหรือไม่ ในช่วงอุทกภัย

- กระบวนการจัดซื้อน้ำยา ส่วนกลางเป็นผู้จัดซื้อ แล้วกระจายโดยไปรษณีย์ไทย มีการกำหนดเกณฑ์เพื่อคงสภาพของน้ำยาหรือไม่ อย่างไร
บริการจิตเวช
- การพัฒนาพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ขาดแคลน ดำเนินการอย่างไร
การกำกับควบคุมมาตรฐานการให้บริการ
- HA อธิบายสถานการณ์การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA สาธารณสุขเขต 14 นครชัยบุรินทร์
- อธิบายการสนับสนุนพัฒนาคุณภาพรพ. มีการดำเนินการอย่างไร
การตรวจสอบเวชระเบียน
- เวชระเบียนที่สุ่มได้มีกี่เปอร์เซ็นต์ ของทั้งเขต

- หลักการตรวจเวชระเบียนเป็นอย่างไร

- การอบรมครู ก และ ครู ข เป็นอย่างไร

- การอบรมครู ข ที่ได้ผลออกมา มีการทำรายงานหรือไม่

- วิธีการวัดผลครู ก ดำเนินการอย่างไร

- ร้อยละของเวชระเบียนที่ Re audit มีการดำเนินการอย่างไร ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

- ร้อยละของเวชระเบียนที่ตรวจแล้วพบข้อผิดพลาดเทียบกับเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 เป็นของส่วนกลางกำหนดใช่หรือไม่

- ปี 54 มีอุทธรณ์จำนวนเท่าไหร่ และที่อุทธรณ์ สำเร็จมีจำนวนเท่าไหร่

- ในภาพรวมมีการเรียกเงินคืนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และมีกระบวนการจ่ายอย่างไร
การคุ้มครองสิทธิของประชาชน  
- อธิบายในกรณีที่เรียกเก็บเงินจากผู้รับบริการ เกิดจากสาเหตุอะไร
- ยาในบัญชียาหลัก หน่วยบริการสามารถดูข้อมูลได้จากที่ไหน และเกิดข้อร้องเรียนในกรณีนี้หรือไม่

- มาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข ถ้ามีมูลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

- อธิบายขั้นตอนการย้ายสิทธิ์

- ประเภทในกลุ่มขอความช่วยเหลือมีกี่ประเภท และอยู่ในระดับใดบ้าง

- ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในรพ.ระดับใด

- Case คลอด เกิดในระดับในมากที่สุด

- ทำไม Case คลอด ถึงมีการ refer ด้วยสาเหตุอะไร

- ความเสียหายเกิดที่แม่ หรือ ลูก มากกว่ากัน

- มีข้อกำหนดชดเขยความเสียหายอย่างไร ใน Case คลอด มีการปรับการชดเชยอย่างไร
งานสื่อสารประชาสัมพันธ์
- ตัวชี้วัด การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

- มีปัญหาที่ผู้สูงอายุ จะโทรมาติดต่อไม่ได้หรือไม่

- แนวทางประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าวนครชัยบุรินทร์ นำไปแจกที่ไหน

- การประชาสัมพันธ์ ไข้หวัดใหญ่  ภาวะน้ำ ประชาสัมพันธ์อย่างไร  วิทยุเครือข่าย

- Branch’s new ของสปสช.เขต ดำเนินการเอง

- สัมมนาสื่อมวลทำอย่างไร  

- มีการประเมินผลหรือไม่

- การประเมินภายใน มีวิธีการดำเนินการอย่างไร ใช้หน่วยงานใดประเมิน

- มีการส่งแบบสอบถามหรือไม่ ผลตอบรับ/การตอบกลับ ดีหรือไม่

- วิธีการที่ประชาชนจะรู้สิทธิ์ได้ดีที่สุดคือ อสม. แล้ว สปสช.ให้ความรู้กับ อสม.อย่างไร

- มีการคัดเลือก อสม. อย่างไร และใครเป็นคนแต่งตั้ง อสม.เชี่ยวชาญ
งานพัฒนาบุคลากร
- O2 และ O3 มีค่า competency ที่ต้องเพิ่มอย่างไร
งานสารสนเทศ
- IT มีการดูแลรักษา server อย่างไร มี Record หรือไม่

- Notebook มีการดูแลอย่างไร