วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเด็นคำถามจาก สรอ.@ สปสช.เขต 9 นครราชสีมา

การตรวจประเมินเพื่อขอการรับรอง ISO9001:2008 (ขั้นที่ 2) วันที่ 17 กรกฎาคม 2555
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา
ภาพรวมของกิจกรรมระบบบริหารคุณภาพของสาขา
-ตามกรอบวิสัยทัศน์ทุกคนที่อยู่บนพื้นแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจรวมถึงคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ ถ้ารวมมีการดูแลคนกลุ่มนี้อย่างไร
-เป้าประสงค์ และกรอบยุทธศาสตร์ มีการปรับเปลี่ยนหรือไม่
-พันธกิจ ในเรื่องบริหารเงินกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ มีการวัดผลอย่างไร
งาน
ข้อซักถาม
การขึ้นทะเบียน
-หน่วยบริการ ในการตรวจประเมินหน่วยบริการ ด้านการอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ใครเป็นผู้เข้ารับการอบรม อบรมเสร็จแล้วมีการดำเนินการอย่างไรต่อ

-ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ หมายถึง คือขาดแพทย์ หรือขาดแพทย์เวชศาสตร์

-การปรับปรุงเกณฑ์ขึ้นทะเบียน ในระดับเขต ตาม service plan ดำเนินการอย่างไร
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
-ระบบ claim ข้อมูลส่งตรงมาที่ เขต ก่อน หรือ ส่งเข้าส่วนกลาง
-ภาพรวมการเบิกจ่าย ของกองทุน central reimburse ทำไมยังไม่ได้โอนเงินอยู่มาก
-การวัดข้อมูล op/pp individual data ที่คาดเคลื่อน จะวัดอย่างไร

-ระบบ E claim มีการประมวลผลอย่างไร และมีข้อกำหนดในการจ่ายอย่างไร

-ถ้าไม่ส่งข้อมูลผ่านระบบ e - claim จะมีช่องทางการอื่นส่งได้หรือไม่
งบค่าเสื่อม
-กำหนด KPI รายบุคคลวัดอย่างไร และ ร้อยละที่กำหนด เป็นวงเงินในระดับใด
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้านการแพทย์
- กายอุปกรณ์เครื่องช่วยในส่วนของจังหวัดสุรินทร์ ทำไมผลงานค่อนข้างต่ำ เป็นเพราะอะไร
- จำนวนคนขื้นทะเบียนผู้พิการ จ.บุรีรัมย์มีมากที่สุด แต่ตัวเลขผลงานจำนวนครั้งให้บริการทำไมลดลง
กองทุนส่งเสริมป้องกันโรค
- เป็นการส่งเสริม ป้องกันโรค แก่คนไทยทุกสิทธ์ จะครอบคลุมคนต่างด้าวหรือไม่ พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
- ตัวชี้วัดเกณฑ์การประเมิน กำหนดอย่างไร
- อัตราแรกเกิด Low birth weight  (LBW) เป็นการส่งเสริมให้แม่มีการฝากครรภ์เร็วขึ้นใช้หรือไม่  มีการดำเนินการอย่างไร และกำหนดเกณฑ์อย่างไร
- นอกจากการดู แม่ฝากครรภ์เร็ว และมารพ.ครบตามกำหนด ยังมีการปฏิบัติตัวอย่างอื่นหรือไม่

- กลุ่มวัยรุ่นกำหนดช่วงอายุอย่างไร

- ปัจจุบันพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 100% หรือยัง

- ตัวชี้วัด เงินคงเหลือในกองทุนเมื่อสิ้นปีงบประมาณ  กำหนดอย่างไร

- ปัจจุบันยังมีการประกวดนวตกรรมกองทุนอยู่หรือไม่
กองทุนพัฒนาระบบริการปฐมภูมิ
- Pre – Audit PCU Profile จ.สุรินทร์ ที่ไม่ผ่านติดประเด็นเรื่องอะไร และมีวิธีการดำเนินการต่ออย่างไร
- ปัญหาการกระจายตัวของแพทย์ และบุคลากร ในจังหวัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ มีการดำเนินการอย่างไร
งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ
- จำนวนแม่ข่ายและลูกข่ายที่เพิ่มขี้นจากปี 55 เพราะอะไร
- ขอดูข้อมูลการให้ยาละลายลิ่มเลือด STEMI  ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ทำไมได้น้อย

- จังหวัดใดบ้างที่ให้ยาได้

- ความสัมพันธ์ของจำนวนแม่ข่ายและลูกข่าย กับผลข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน เช่น ชัยภูมิเครือข่ายน้อย แต่มีข้อมูลการให้ยามาก

- CT scan ผลต่างมาก กับจำนวน case เป็นเพราะอะไร

- ขอดูสถิติของ stroke 

- คลินิกอดบุหรี่ มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไร
งานทันตกรรม
- ใส่ฟันเทียม item เท่ากันหรือไม่

- ความสามารถในการดำเนินการ ทำได้กี่หน่วยบริการ

- วัดค่าตัวชี้วัดในกลุ่มเด็กประถมหรือไม่ บรรลุเป้าหรือไม่
ระบบยา เวชภัณฑ์และวัคซีน
- โครงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เราจ่ายเป็นรูปของตัวยากับหน่วยบริการใช่หรือไม่
- ขบวนการ audit นอกจากยา IVIG ในโรค Kawasaki ยาในกลุ่มอื่นๆยังไม่ได้ audit ใช่หรือไม่

- หน่วยบริการใดบ้างที่เด่นๆ เรื่องยาสมุนไพร
Asthma / COPD
- การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง ถ้าเป็นโรคในเบื้องต้นแล้ว จะได้รับยาทันทีเลยหรือไม่

- ผลปี 55 (ยังไม่เต็มปี) ก็ปริมาณเข้าถึงยามากกว่าปี 54 แล้ว เพราะอะไร
HIV/AIDS
- อธิบายผลการดำเนินงานร้อยละผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 100 cell/ml เมื่อแรกรับของผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัส

- มีเกณฑ์การให้ยาอย่างไร
โรคไตวาย
- บริการทดแทนไต ดำเนินการวิธีใด

- ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าผู้ป่วยไม่สามารถทำ CAPD ได้ ต้องร่วมจ่ายในการทำ HD หรือไม่

- CAPD ทำวันละกี่ครั้ง วิธีการทำอย่างไร ประมาณ 2-5 ครั้ง/วัน

- รอบในการทำHD  และ วิธีการทำอย่างไร

- อธิบายการดำเนินงาน การล้างไตผ่านทางช่อง ในช่วงวิกฤตอุทกภัย

- น้ำยา COPD ต้องน้ำเข้า 100% เพราะไทยมีโรงงานผลิตแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ แล้วมีปัญหาในการส่งน้ำยาหรือไม่ ในช่วงอุทกภัย

- กระบวนการจัดซื้อน้ำยา ส่วนกลางเป็นผู้จัดซื้อ แล้วกระจายโดยไปรษณีย์ไทย มีการกำหนดเกณฑ์เพื่อคงสภาพของน้ำยาหรือไม่ อย่างไร
บริการจิตเวช
- การพัฒนาพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ขาดแคลน ดำเนินการอย่างไร
การกำกับควบคุมมาตรฐานการให้บริการ
- HA อธิบายสถานการณ์การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA สาธารณสุขเขต 14 นครชัยบุรินทร์
- อธิบายการสนับสนุนพัฒนาคุณภาพรพ. มีการดำเนินการอย่างไร
การตรวจสอบเวชระเบียน
- เวชระเบียนที่สุ่มได้มีกี่เปอร์เซ็นต์ ของทั้งเขต

- หลักการตรวจเวชระเบียนเป็นอย่างไร

- การอบรมครู ก และ ครู ข เป็นอย่างไร

- การอบรมครู ข ที่ได้ผลออกมา มีการทำรายงานหรือไม่

- วิธีการวัดผลครู ก ดำเนินการอย่างไร

- ร้อยละของเวชระเบียนที่ Re audit มีการดำเนินการอย่างไร ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์

- ร้อยละของเวชระเบียนที่ตรวจแล้วพบข้อผิดพลาดเทียบกับเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 เป็นของส่วนกลางกำหนดใช่หรือไม่

- ปี 54 มีอุทธรณ์จำนวนเท่าไหร่ และที่อุทธรณ์ สำเร็จมีจำนวนเท่าไหร่

- ในภาพรวมมีการเรียกเงินคืนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และมีกระบวนการจ่ายอย่างไร
การคุ้มครองสิทธิของประชาชน  
- อธิบายในกรณีที่เรียกเก็บเงินจากผู้รับบริการ เกิดจากสาเหตุอะไร
- ยาในบัญชียาหลัก หน่วยบริการสามารถดูข้อมูลได้จากที่ไหน และเกิดข้อร้องเรียนในกรณีนี้หรือไม่

- มาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข ถ้ามีมูลจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

- อธิบายขั้นตอนการย้ายสิทธิ์

- ประเภทในกลุ่มขอความช่วยเหลือมีกี่ประเภท และอยู่ในระดับใดบ้าง

- ปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในรพ.ระดับใด

- Case คลอด เกิดในระดับในมากที่สุด

- ทำไม Case คลอด ถึงมีการ refer ด้วยสาเหตุอะไร

- ความเสียหายเกิดที่แม่ หรือ ลูก มากกว่ากัน

- มีข้อกำหนดชดเขยความเสียหายอย่างไร ใน Case คลอด มีการปรับการชดเชยอย่างไร
งานสื่อสารประชาสัมพันธ์
- ตัวชี้วัด การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

- มีปัญหาที่ผู้สูงอายุ จะโทรมาติดต่อไม่ได้หรือไม่

- แนวทางประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าวนครชัยบุรินทร์ นำไปแจกที่ไหน

- การประชาสัมพันธ์ ไข้หวัดใหญ่  ภาวะน้ำ ประชาสัมพันธ์อย่างไร  วิทยุเครือข่าย

- Branch’s new ของสปสช.เขต ดำเนินการเอง

- สัมมนาสื่อมวลทำอย่างไร  

- มีการประเมินผลหรือไม่

- การประเมินภายใน มีวิธีการดำเนินการอย่างไร ใช้หน่วยงานใดประเมิน

- มีการส่งแบบสอบถามหรือไม่ ผลตอบรับ/การตอบกลับ ดีหรือไม่

- วิธีการที่ประชาชนจะรู้สิทธิ์ได้ดีที่สุดคือ อสม. แล้ว สปสช.ให้ความรู้กับ อสม.อย่างไร

- มีการคัดเลือก อสม. อย่างไร และใครเป็นคนแต่งตั้ง อสม.เชี่ยวชาญ
งานพัฒนาบุคลากร
- O2 และ O3 มีค่า competency ที่ต้องเพิ่มอย่างไร
งานสารสนเทศ
- IT มีการดูแลรักษา server อย่างไร มี Record หรือไม่

- Notebook มีการดูแลอย่างไร

1 ความคิดเห็น:

  1. อ.วันชัย จิรพฤกษ์ภิญโญ ผู้ตรวจประเมินสรอ.
    สรุปผลการตรวจประเมินรับรองระบบ ISO ของ สปสช.เขต 9 ดังนี้
    จุดแข็ง
    มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดจากประสบการณ์ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในงานที่ทำ
    สามารถดำเนินการในภาวะวิกฤตได้เป็นอย่างดี
    ข้อสังเกตุ
    การวิเคราะห์ข้อมูล สปสช.น่าจะมีฐานข้อมูลมากอยู่แล้ว แต่อยากให้มีการ analyze ข้อมูล เช่น ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ข้อมูลเพิ่มขึ้น หรือลดลง น่าจะมีการอธิบาย/วิเคราะห์หาสาเหตุ
    ร้อยละข้อผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง/กล้ามเนื้อหัวใจ ที่ต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด ต้องไปดูผลงาน และสรุปข้อมูลออกมาเพื่อหาคำอธิบายในประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น
    การวิเคราะห์ข้อมูล จะขึ้นอยู่กับสมมติฐานข้อผู้นำเสนอ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหน
    ยกตัวอย่าง การแข่งกีฬา ในการวิเคราะห์เกมส์ ต้องมีการเก็บสถิติ ลักษณะการเล่น วิเคราะห์คู่แข่ง
    ข้อมูลมีมากอยู่แล้วขึ้นอยู่กับการตั้งสมมติฐานและการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
    แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล อาจกำหนดกรอบตามวิสัยทัศน์ เช่น ผู้รับบริการมีความมั่นใจ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ต้องค้นหา output ที่ได้ เพื่อการส่งเป็นข้อมูลย้อนกลับ เช่น เรื่องร้องเรียน เมื่อทราบปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว มีแนวทางที่จะลดปัญหาร้องเรียนให้น้อยลงหรือไม่

    ตอบลบ