วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

CQI แผนกส่งเสริมสุขภาพ ปี 2555 รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน สุรินทร์


CQI แผนกส่งเสริมสุขภาพ ปี 2555
1. ชื่อผลงานเพราะรัก...จึงห่วงใย โปรแกรมเลิกบุหรี่ช่วยได้
2. คำสำคัญ  :  พฤติกรรม บุหรี่ คาร์บอนมอนออกไซด์
3. สรุปผลงานโดยย่อ  การปรับเปลี่ยนวิธีการเลิกบุหรี่  โดยใช้การมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญว่าการเลิกบุหรี่เป็นนโยบายของหน่วยงาน การให้กำลังใจจากผู้นำองค์กร การติดตามและการกระตุ้นให้เห็นโทษภัยของบุหรี่เป็นระยะ ๆ สามารถลดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ ในกลุ่มเป้าหมายได้สำเร็จ
4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร  : แผนกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน
5. สมาชิกทีม  : พ.ต.หญิงเสาวณีย์          ทวีวานิชย์
                   ร.ท.หญิงพลอยไพลิน      ภูมิงาม
                   จ.ส.อ.หญิงกมลพร         ฉลวยศรี
                   นางพัชรา                  เพ็ชรดี
6. เป้าหมาย  : ระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ ลดลง 50 %
7. ปัญหา และสาเหตุโดยย่อ  :  จากการสำรวจข้อมูลบุคลากรที่สูบบุหรี่ของโรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน โดยแผนกส่งเสริมสุขภาพ ในปี พ.ศ. 2555 พบว่า มีบุคลากรที่สูบบุหรี่จำนวน 22 ราย  คิดเป็นร้อยละ 15.49  ทั้งหมดเป็นบุคลากรเพศชาย จากการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ที่ผ่านมานั้นมีลักษณะ เป็นการห้าม  การตักเตือน ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่สามารถทำให้บุคลากรผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้
8. การเปลี่ยนแปลง : โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการเลิกสูบบุหรี่ ดังนี้
ขั้นเตรียมการ
1.       สำรวจสาเหตุการสูบบุหรี่ และความต้องการในการเลิกสูบบุหรี่
          2.  ศึกษาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการเลิกสูบบุหรี่
          3.  ปรับรูปแบบของกิจกรรมหรือโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ให้เหมาะสมกับบุคลากรโรงพยาบาล โดยการจัดกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 
ครั้งที่ 1
                   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธินประกาศนโยบายโรงพยาบาลปลอดบุหรี่
                   ตรวจวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอดก่อนเข้าโปรแกรม
                   ผู้ร่วมโครงการลงนามสัญญาการเลิกบุหรี่
                   ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่
ครั้งที่ 2
                   ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด
                   ให้คำแนะนำ แจกสื่อความรู้เครื่องมือช่วยในการเลิกบุหรี่
ครั้งที่ 3
                   ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด
                   กิจกรรมกระตุ้นเตือนในเรื่องโทษและพิษภัยของการสูบบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดย
วีดีทัศน์
                   ให้คำแนะนำ แจกสื่อความรู้เครื่องมือช่วยในการเลิกบุหรี่
ครั้งที่ 4
                   กิจกรรมกระตุ้นเตือนและให้คำปรึกษาในเรื่องการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่
                   ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด
                   แจกสื่อความรู้เครื่องมือช่วยในการเลิกบุหรี่
ครั้งที่ 5
                   กิจกรรมกระตุ้นเตือนและให้คำปรึกษาในเรื่องการปฏิบัติตัวในการเลิกสูบบุหรี่
                   ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด
                   แจกสื่อความรู้เครื่องมือช่วยในการเลิกบุหรี่
ครั้งที่ 6
                   ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยการวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด
                   ให้คำแนะนำ แจกสื่อความรู้เครื่องมือช่วยในการเลิกบุหรี่
                   สำรวจพื้นที่ ที่มีบุคลากรสูบบุหรี่และกระตุ้นเตือนช่วงเวลาที่สำรวจช่วงเช้า09.00. 10.00 น. ช่วงบ่าย 15.00 -16.00 น.
                   กิจกรรมให้กำลังใจ  ให้หัวหน้าของผู้ที่กำลังเลิกสูบบุหรี่เขียนการ์ดให้กำลังใจ มอบให้แก่บุคลากรที่อยู่ในการปกครอง เพื่อเป็นกำลังใจในการเลิกบุหรี่ และสารการให้ กำลังใจจากผู้อำนวยการ

9. การวัดผล และผลของการเปลี่ยนแปลง :
ข้อมูล/ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
2555
บุคลากรที่สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้เพิ่มมากขึ้น
>10 %
9.09%
ร้อยละของบุคลากรที่สูบบุหรี่มีระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอดลดลง
50%
61.90%

10. บทเรียนที่ได้รับ
                  การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่เดิมจะมีลักษณะ เป็นการห้าม  การตักเตือน พบว่า  บุคลากรไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้  เมื่อนำวิธีการมีส่วนร่วมของบุคลากร  ร่วมกับการกระตุ้นเตือน  และการประกาศนโยบายโรงพยาบาลปลอดบุหรี่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร การให้กำลังใจจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล อีกทั้งประกาศห้ามสูบบุหรี่ตั้งเป็นกฎระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติตนเพื่อเลิกบุหรี่ การเพิ่มมาตรการให้คุณให้โทษกับบุคลากรผู้ที่สูบบุหรี่ การเฝ้าระวัง การกระตุ้นเป็นระยะๆ   การติดตามบุคลากรที่เลิกบุหรี่ได้  แล้วนำมาประกาศให้เป็นบุคคลตัวอย่าง  สามารถทำให้มีบุคลากรเลิกบุหรี่ได้ 2 ราย และกลุ่มตัวอย่างมีระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ ลดลงได้สำเร็จ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น